วัสดุคงคลัง ที่ถูกจัดหมวดหมู่ จะสามารถทำให้เราได้ประโยชน์ จากการจัดการคลังสินค้า ได้อย่างสูงสุด
- วัสดุ A หรือสินค้า A เป็นวัสดุคงคลัง ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก มีปริมาณการใช้สูง หรือมีมูลค่าสูง อาจใช้กฏ 80:20 เป็นวิธีกำหนดวัสดุคงคลังชนิด A (จำนวนวัสดุคงคลังแค่ 20 ชนิดจากวัสดุคงคลังทั้งหมด มีมูลค่าทางธุรกิจถึง 80%) วัสดุคงคลัง A ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่าย และมีการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชีอยู่บ่อยๆ (เช่น ทุกวันหรือ ทุกสัปดาห์) และต้องเก็บของไว้ในที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัสดุ หรือวัสดุคงคลังและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้
- วัสดุ B หรือสินค้า B เป็นวัสดุคงคลังที่มีความสำคัญต่อธุรกิจปานกลาง ควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลาง ด้วยการลงบัญชีคุมยอดบันทึกเสมอเช่นเดียวกับ A ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า (เช่น ทุกสัปดาห์ หรือ ทุกสิ้นเดือน) และการควบคุม B จึงควรใช้ระบบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A
- ส่วนสุดท้าย วัสดุประเภท C เป็นวัสดุคงคลังที่มีความสำคัญต่อธุรกิจน้อย วัสดุคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวกเนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมาก ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวด จะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ป้องกันไม่ให้สูญหาย การตรวจนับ C จะใช้ระบบวัสดุคงคลังแบบสิ้นงวดคือ เว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าพร่องไปเท่าใดแล้ว จึงซื้อมาเติม หรืออาจใช้ระบบสองกล่อง (Two bin system) ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้ พอใช้ของในกล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้แล้วรีบซื้อของเติมใส่กล่องสำรองแทน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น
เทคนิคการจำแนกสินค้าตามประเภทดังต่อไปนี้ มีประโยชน์ในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังเป็นอย่างมาก ถ้านำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบทางการแข่งขันสูงขึ้น
สนใจระบบโปรแกรมตรวจเช็คสต๊อกสินค้า CHECKSTOCKPRO ติดต่อ 095-941-3663