โปรแกรมสต๊อกสินค้าที่ดีจะถูกออกแบบให้เหมาะสม และสามารถรองรับการบริหารจัดการทุกกิจกรรมภายในคลังสินค้า รวมทั้งยังต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบซอฟท์แวร์บริหารงานธุรกิจอื่นๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรมีอยู่
มาตรฐานของระบบโปรแกรมสต๊อกสินค้า ที่สำคัญจะต้องประกอบด้วยความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินงานของคลังสินค้า โดยจะต้องประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
การรับสินค้า (Receiving)
การรับสินค้าเป็นขั้นตอนที่ทำต่อเนื่องมาจากการจัดซื้อซึ่งจะใช้ข้อมูลการสั่งซื้อ (Purchase Order) เป็นข้อมูลการนำเข้า (Input Data) ซึ่งทำให้ผู้รับสินค้าหรือคลังสินค้า ทราบว่าสต๊อกสินค้านั้น ๆ สั่งซื้อเมื่อใด ปริมาณเท่าไร ผู้ขายและผู้ซื้อคือใคร และกำหนดการส่งสินค้าว่าตรงตามเวลาหรือไม่
เมื่อรับสินค้าเข้าระบบแล้วก็จะจัดทำ Barcode เพื่อระบุรายละเอียดของสินค้านั้นๆ การเก็บสินค้า (Put-away) ระบบจะตรวจสอบในฐานข้อมูลว่าสินค้าชนิดนั้นๆ สมควรจะจัดเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บไหน ซึ่งจะมีการคำนวณจากขนาดของพื้นที่และชั้นเก็บของต่าง ๆ ว่ามีขนาดและน้ำหนักเท่าไร เพียงพอต่อสินค้าที่จะนำมาเก็บหรือไม่ และจำแนกประเภทของสินค้าไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้
ต่อจากนั้นระบบจะทำการกำหนดลำดับงานและเส้นทางในการจัดเก็บสินค้าที่เหมาะสม เมื่อสินค้าได้ถูกจัดเก็บแล้ว ระบบจะต้องสามารถบันทึกว่าสินค้าชนิดนั้นๆ จัดเก็บอยู่ในพื้นที่จัดเก็บใดด้วยระบบ Barcode