Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

Consignment stock คืออะไร Check Stock Pro ช่วยได้อย่างไร?

Consignment stock หรือการฝากขาย คือ การที่เจ้าของสินค้าส่งสินค้าไปยัง ผู้รับฝากขายเพื่อให้ช่วยทำหน้าที่ขายสินค้าแทน โดยที่ความเป็นเจ้าของของสินค้ายังเป็นของคนฝากขายอยู่จนกว่าสินค้านั้นๆ จะขายได้แล้วมีการออกเอกสารขาย เอกสารขายจะออกโดยผู้รับฝาก แต่จะมีการคิดค่าฝากขาย หรือค่านายหน้ากับผู้มาฝากขาย

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นเรามีสินค้าเป็นเสื้อผ้าอยากจะขายผ่านห้างดังอย่าง Central เราก็นำของไปฝาก Central ขาย เราส่งของไปวางที่ห้าง 100 ตัว

ของ 100ตัวนี้ก็ยังเป็นของเราอยู่ จนวันหนึ่งมีลูกค้ามาซื้อของจาก Central ไป 1ตัว Central ก็ออกบิลไปให้ลูกค้า พอตอนนี้ของเราก็เหลือ 99 ตัวแล้ว

สมมติว่า Central คิดค่าฝากขายเป็นจำนวน 20% ของราคาขาย ถ้าเสื้อตัวนั้นราคา 1000บาท Central ก็จะคืนเงินให้เรา 800บาท ฟังดูเริ่มง่ายขึ้นมั้ยครับ?

แต่ลองคิดดูถ้าเราฝากขายสัก 30 ห้าง ขายได้วันละหลายร้อยแบบ หลายร้อยตัว คราวนี้สต็อกก็เริ่มจะมั่วแล้วครับถ้าไม่มีระบบจัดการที่ดี แล้วจะจัดการยังไงดี?

ให้น้องๆพนักงานขายจดใส่กระดาษแล้วส่งมาที่ office ก็คงไม่สนุกแน่ๆในการรวบรวม

ถ้าเปลี่ยนมาใช้ application Check Stock PRO ที่เป็น Cloud technology บนมือถือก็จะง่ายแล้วครับ พอขายของออกไป น้องๆพนักงานขายก็ตัดสต็อกเลยผ่าน application ทาง office ก็ดูได้ทันทีทุกสาขา สามารถแพลนงานได้ด้วยว่าจะส่งของไปเพิ่มที่สาขาไหน ตัวไหน จำนวนเท่าไร ลืมความวุ่นวายเก่าๆไปได้เลยครับ

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

การกำหนดปริมาณเติมเต็มวัสดุหรือสินค้าคงคลัง

Lot-for-Lot

  • สั่งเท่าที่ต้องการจะไม่มีการเหลือเก็บเนื่องจากสั่งเท่าที่ต้องการ
  • ใช้สำหรับการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าที่ มีความต้องการที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent demand) หรือมีการผลิตแบบ Just-in-Time (JIT)

Fixed-Order Quantity

  • สั่งซื้อเป็นปริมาณตายตัวทุกครั้งที่มีการสั่ง ซึ่งเร็วและง่าย แต่อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

การสั่งด้วยปริมาณการสั่งที่ประหยัด (EOQ)

  • เป็นระบบวัสดุคงคลังที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยจะใช้กับวัสดุคงคลังที่มีลักษณะของความต้องการที่เป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับความต้องการของวัสดุคงคลังตัวอื่น (Independent Demand) จึงต้องวางแผนพิจารณาความต้องการและพยากรณ์อุปสงค์ของลูกค้าโดยตรง
  • ระบบขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัดจะพิจารณาต้นทุนรวมของวัสดุคงคลังที่ต่าสุดเป็นหลักเพื่อกาหนดระดับปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งที่เรียกว่า “ขนาดการสั่งซื้อที่ประหยัด”

สนใจระบบเช้คสต๊อกที่ใช้ง่ายที่สุด ลองใช้ CheckstockPRO.com

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

Check Stock Pro เหมาะกับใครธุรกิจแบบไหน?

ทุกวันนี้โลกเราเหมือนจะแคบลงทุกวันครับ

สักหลายอาทิตย์ที่แล้วมีพี่ที่รู้จักกันดีที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ ได้เริ่มธุรกิจนำของเล่นเข้ามาขายในประเทศไทยโดยให้คนที่ประเทศไทยช่วยบริหาร ในขณะที่ตัวเองอยู่ต่างประเทศคอยสั่งซื้อ จัดหาของ การขายของในประเทศไทยก็มีหลายแบบครับ ขายขาด ขายฝาก (ใครเคยทำธุรกิจกับ Central หรือ The Mall คงรู้ดี)


ความวุ่นวายมันอยู่ตรงนี้แหละครับ มีสาขาเยอะ บางที่ที่ขายฝากก็ไม่รู้ของตัวเองมีอยู่เท่าไร ขายเป็นยังไง ของที่อยู่ที่โกดังก็ตรงบ้างไม่ตรงบ้าง …. แล้วจะซื้อของตัวไหนมาเติมอีกดี ? เช็คสต็อคโดย Excel file ไม่ตอบโจทย์แล้วครับ ยิ่งจดมือใส่กระดาษนี่เลิกพูดถึงเลย เพราะทุกอย่าง Manual ไม่ Real time อยู่ต่างประเทศนี่ถึงขั้นขาดการติดต่อได้ง่ายๆ เลยครับ

ดังนั้น Cloud Technology เลยเข้ามามีบทบาทตรงนี้มากครับ เพราะทำให้ทุกคนสามารถเห็นสิ่งเดียวกัน พร้อมกัน ทุกสาขา ทั้งโลก !! แค่มี internet ก็ใช้ได้แล้ว บวกกับ Check Stock Pro เป็น application บนมือถือ ใช้งานง่าย ทีนี้น้องๆ ที่เป็นเซลก็แค่เข้าไปที่สาขา เช็คสต็อคด้วย Check Stock Pro เจ้าของธุรกิจที่อยู่แดนไกลก็สามารถรู้สถานะได้ทันทีง่ายๆ

… เพราะโลกเราแคบลงทุกวันครับ

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

ความสำคัญของ ตารางสต๊อกสินค้า

ตารางสต๊อกสินค้า ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการจัดการข้อมูล stock สินค้าที่มีประสิทธิภาพ โดยตารางสต๊อกสินค้านั้นมีไว้เพื่อตรวจสอบว่าจำนวนสต๊อกสินค้าปัจจุบันที่เรามีอยู่นั้น มีเป็นจำนวนเท่าใด มีจำนวนเข้าออกเป็นจำนวนเท่าไหร่บ้าง ทำให้เราทราบถึงข้อมูลลักษณะความเคลื่อนไหวของสินค้า เพื่อนำไปวางแผนในการจัดการสต๊อกสินค้าในแต่ละรายการได้ ซึ่งตารางสต๊อกสินค้าที่ดีควรจะออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย มองเห็นได้อย่างชัดเจน และถูกต้องแม่นยำ

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

ประเภทของของสต๊อก

Cycle Stock:

เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่มีสต๊อกไว้เพื่อทดแทนวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต หรือสินค้าที่ขายไป ซึ่งสต๊อกประเภทนี้จะเก็บไว้เพื่อตอบสนองความต้องการ การผลิตหรือการขาย ซ่งอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่าความต้องการวัตถุดิบ หรือสินค้าและเวลาในการสั่งคงที่และทราบล่วงหน้า

Safety or Buffer Stock:

เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าจำนวนหนึ่งที่เก็บไว้เกินจำนวนเก็บไว้ตามรอบปกติเนื่องจากความไม่แน่นอนในความต้องการ วัสดุคงคลังที่เก็บสำรองไว้ โดยปริมาณของ Safety stock จะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นกับความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการ ถ้าปริมาณความต้องการวัตถุดิบ หรือสินค้าในแต่ละช่วงเวลาไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแน่นอน อาจทา ต้องเก็บ Safety stock ในปริมาณมากขึ้น

In – transit Inventories:

เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งวัตถุดิบ หรือสินค้าเหล่านี้อาจจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสต๊อกที่เก็บไว้แม้ว่าวัสดุหรือสินค้าเหล่านี้จะยังไม่สามารถขายหรือใช้ได้ ดังนั้น ในการคำนวณต้นทุนในการเก็บรักษา ควรจะรวมต้นทุนของวัตถุดิบ หรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งไว้ด้วย

Dead Stock:

เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าที่เก็บไว้นานและยังไม่มีความต้องการใช้หรือขายเกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นเพราะความล้าสมัย เสื่อมสภาพ เราควรทำการพิจารณาว่าจะจัดการอย่างไรดี อาจจะทำลายทิ้ง หรือขายลดราคาก็ได้

บริหารสต๊อกสินค้าในแบบต่างๆ ด้วยโปรแกรมบริหารงานสต๊อกสินค้าออนไลน์ CheckstockPRO

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

การบริหาร จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหาร จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสามารถของธุรกิจ ในการบริหาร และ จัดการสต๊อกสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ธุรกิจนั้น มีความได้เปรียบคู่แข่งหลายๆ ประการ เช่น

  • ลดขนาดการสั่งซื้อและการสั่งผลิตลง
  • สำหรับสินค้าที่ทำการจัดซื้อ ให้ทำการสั่งสินค้าถี่ขึ้น นอกจากจะได้สินค้าใหม่แล้ว ยังช่วยลดสต๊อกสินค้าในคลังลงด้วย อีกทั้งให้ทำการบริหารต้นทุนการจัดซื้อ ให้ต่ำลง โดยใช้ คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศ ในการสร้างคำสั่งซื้อ (Purchase Orders: PO) การใช้ระบบ (Electronic Data Interchange: EDI) ในการส่งผ่านข้อมูลราคาสั่งซื้อ (PO) การใช้ระบบแจ้งการขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Advance Shipping Notices: ASNs) เพื่อทำการลดต้นทุนการจัดซื้อ ก็จะช่วยสามารถ ลดต้นทุนด้านการจัดซื้อ และการรับสินค้าลดลงได้ นอกจากนั้นยังจะ สามารถสั่งได้บ่อยขึ้น หรือสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยได้
  • สำหรับสินค้าที่ทำการผลิตนั้น หากต้นทุนการติดตั้ง หรือการเปลี่ยนเครื่องมือ (Change over) มีค่าสูง ควรแก้ไขให้กิจกรรมนี้ให้มีเวลาที่สั้นลงจะสามารถลดสต๊อกสินค้าคงคลังได้ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้
  • ลดต้นทุนการเก็บสต๊อกสินค้าคงคลัง (Lower inventory costs)
    • เพิ่มการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ โดยการให้เช่าพื้นที่ที่มีอยู่ หรือ ลดการการขยายพื้นที่คลังสินค้า โดยใช้ เครื่องมือที่สามารถขนย้ายสินค้าในช่องแคบ การใช้ชั้นลอย หรือวิธีการเก็บสินค้าที่เหมาะสมมากขึ้น
  • การตั้งระดับปริมาณสต๊อกสินค้าเผื่อขาดให้เหมาะสม
  • วางแผนการประกอบ เมื่อเกิดความต้องการ และไม่ต้องการ
    • ควรมีการทบทวนแผนการสั่งซื้อ และการผลิตตลอดเพื่อทำการสั่งเพิ่ม หรือยกเลิกสินค้าที่ไม่ต้องการ เพื่อให้สต๊อกสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
    • สำหรับสินค้าที่เป็นชิ้นส่วน ที่สามารถนำไปผลิตสินค้าต่อเนื่อง ได้อีกหลายชนิด (Parent products) ควร จะทำการเก็บสินค้าคงคลัง ไว้ในรูปแบบของสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished product) เพื่อลดปริมาณสต๊อกสินค้า คงคลังทั้งหมด เนื่องจากสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลัง ของทุกรายการแต่ละแบบได้
  • วิเคราะห์ และคาดการความต้องการของลูกค้า อย่างสม่ำเสมอ
    • ควรใช้ประสบการณ์ ควบคู่ไปกับสูตรการคำนวณความต้องการของลูกค้า เพื่อพยากรณ์ ยิ่งแม่นยำ ก็จะทำให้เราวางแผนการสั่งซื้อ และการผลิตได้ถูกต้อง เป็นผลให้ปริมาณสต๊อกสินค้าเป็นไปอย่างเหมาะสมด้วย
    • เหตุการณ์บางเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ทำให้เรา ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น ในการจัดการปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังมาประกอบด้วย เช่น เทศกาลปีใหม่ที่ทำให้ความต้องการกระเช้าของขวัญมากขึ้นทำให้ต้องมีการวางแผนปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว
  • สร้างความร่วมมือระหว่างซัพพลายเออร์ในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้สามารถการจัดซื้อสินค้าแต่ละประเภทได้ในปริมาณที่น้อยลง และสั่งได้ถี่ขึ้น จัดการสต๊อกสินค้า ที่ดี จะทำให้การเก็บปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังน้อยลง
  • จัดส่งสินค้าต่อไปให้ลูกค้าเมื่อสินค้ามาถึง (Cross-dock customer shipments) สามารถลดความต้องการในการ เก็บสต๊อกสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าสามารถนาส่งต่อไปยังลูกค้าได้ทันที โดยไม่ต้องทำการจัดเก็บสินค้า
  • การให้ซัพพลายเออร์เป็นผู้บริหารสินค้าคงคลัง (Vendor-Managed Inventory: VMI) การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมให้ซัพพลายเออร์ เข้ามารับผิดชอบการบริหารสินค้าคงคลัง เนื่องจากซัพพลายเออร์สามารถทราบปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลัง และแผนการผลิตสินค้าของฝ่ายตนเอง และสามารถทราบความ ต้องการที่แท้จริงของสินค้าพร้อมกับปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนสต๊อกสินค้าคงคลัง ลดลงทั้งฝ่ายซัพพลายเออร์และลูกค้า
  • ลดระยะเวลาในการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ หรือระยะเวลาในการขนส่งสินค้า หรือ ระยะเวลาในการรับสินค้า จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการในการ เก็บสต๊อกสินค้าคงคลังลดลง นอกจากนี้การลดความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการสั่งซื้อก็สามารถลดความต้องการ ของการเก็บสต๊อกสินค้าได้
  • เคลื่อนย้ายสินค้าคงคลัง (Transshipment) เมื่อสินค้าคงคลังของสินค้าบางรายการ ณ คลังสินค้าแห่งหนึ่งมีมากเกินไป อย่างไรก็ตามได้มีความ ต้องการสินค้าประเภทเดียวกัน ณ คลังสินค้าอีกที่หนึ่ง ดังนั้นระบบในการเกลี่ยปริมาณสินค้าคงคลังจากที่หนึ่ง มาที่หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีต่อการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี อย่างไรก็ตามต้นทุนในการเคลื่อนย้าย สินค้านี้ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • การจัดสินค้า Dead Stock (สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว) และสินค้า Slow Moving (สินค้าที่ถูกขายออกไปช้า) ซึ่งการจัดการลดกลุ่มสินค้าเหล่านี้เป็นการช่วยลดต้นทุนทั้งในคลังสินค้า (Warehousing) การจัดดำเนินการสินค้าในคลัง (Handling) การขนส่ง (Transportation) เช่น สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้า ทำให้เปลืองพื้นที่จัดเก็บ และการดูแลสต๊อกสินค้าในคลัง

จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมืออาชีพ ด้วยแอพพลิเคชั่น ที่รองรับการใช้งานพร้อมๆกันได้หลายสาขา โหลดฟรีที่นี่
Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

หันมาใช้ระบบบาร์โค้ดควบคุมสินค้าในสต๊อกกันเถอะ

ด้วยฟีเจอร์การเช็คสต๊อกที่ใช้ง่าย ทันสมัย และสามารถใช้กับบาร์โค้ดได้ ทำให้การจัดการสต๊อกสินค้าของคุณกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายที่สุด
สามารถถ่ายรูปหรืออัพโหลดรูปสินค้าจากแกลอรี่รูปภาพที่อยู่ในเครื่องได้
มีฟีเจอร์เตือนในกรณีที่ปริมาณสินค้าในโกดังต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้
สามารถอัพโหลดขึ้นคลาวด์เพื่อใช้ร่วมกันหลายๆเครื่องได้ (ในเวอร์ชั่น CheckstockPRO Cloud)
สแกนบาร์โค้ดเพื่อช่วยในการจัดการสต๊อกสินค้าคงคลัง
สามารถใช้งานกับบาร์โค้ดได้หลากหลายประเภททั้ง (EAN, UPC, CODE 39, CODE 128, and also 2 Dimensional QR Code)
นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการสต๊อกสินค้าได้หลากหลายประเภท
เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการทราบจำนวนสินค้าคงเหลืออย่างแม่นยำและรวดเร็ว
สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยไม่จำเป็นจะต้องต่อกับ 3G หรือไวไฟเพื่อใช้งาน
แสดงสินค้าที่ขายดีที่สุดของคุณในแดชบอร์ด
แสดงสินค้าที่มีจำนวนคงเหลือเยอะที่สุด และเหลือน้อยที่สุดในโกดังของคุณ
ติดตามการเข้าออกของสินค้าได้ทุกรายการใน Activity Log
พร้อมคู่มือการใช้งานในตัวโปรแกรม
สามารถโปรโมทสินค้า โดยการแชร์รูปสินค้า รายละเอียดสินค้าไปที่เฟสบุ๊คได้
มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่สูญหาย ถ้าโทรศัพท์มือถือมีปัญหา ด้วยการแบ๊คอัพข้อมูลเพื่อไปเก็บยังเซิฟเวอร์ระบบคลาวด์ด้วยเวอร์ชั่น CheckstockPRO Cloud

และอื่นๆอีกมากมาย…..

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

โปรแกรมสต๊อกสินค้า ที่ดีและเหมาะกับธุรกิจของคุณ

โปรแกรมสต๊อกสินค้าที่ดีจะถูกออกแบบให้เหมาะสม และสามารถรองรับการบริหารจัดการทุกกิจกรรมภายในคลังสินค้า รวมทั้งยังต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบซอฟท์แวร์บริหารงานธุรกิจอื่นๆ ที่หน่วยงานหรือองค์กรมีอยู่

มาตรฐานของระบบโปรแกรมสต๊อกสินค้า ที่สำคัญจะต้องประกอบด้วยความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินงานของคลังสินค้า โดยจะต้องประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้

การรับสินค้า (Receiving)

การรับสินค้าเป็นขั้นตอนที่ทำต่อเนื่องมาจากการจัดซื้อซึ่งจะใช้ข้อมูลการสั่งซื้อ (Purchase Order) เป็นข้อมูลการนำเข้า (Input Data) ซึ่งทำให้ผู้รับสินค้าหรือคลังสินค้า ทราบว่าสต๊อกสินค้านั้น ๆ สั่งซื้อเมื่อใด ปริมาณเท่าไร ผู้ขายและผู้ซื้อคือใคร และกำหนดการส่งสินค้าว่าตรงตามเวลาหรือไม่

เมื่อรับสินค้าเข้าระบบแล้วก็จะจัดทำ Barcode เพื่อระบุรายละเอียดของสินค้านั้นๆ การเก็บสินค้า (Put-away) ระบบจะตรวจสอบในฐานข้อมูลว่าสินค้าชนิดนั้นๆ สมควรจะจัดเก็บไว้ในพื้นที่จัดเก็บไหน ซึ่งจะมีการคำนวณจากขนาดของพื้นที่และชั้นเก็บของต่าง ๆ ว่ามีขนาดและน้ำหนักเท่าไร เพียงพอต่อสินค้าที่จะนำมาเก็บหรือไม่ และจำแนกประเภทของสินค้าไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรือตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้

ต่อจากนั้นระบบจะทำการกำหนดลำดับงานและเส้นทางในการจัดเก็บสินค้าที่เหมาะสม เมื่อสินค้าได้ถูกจัดเก็บแล้ว ระบบจะต้องสามารถบันทึกว่าสินค้าชนิดนั้นๆ จัดเก็บอยู่ในพื้นที่จัดเก็บใดด้วยระบบ Barcode

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

วัสดุคงคลังกับระบบการจำแนกเป็นหมวด ABC

วัสดุคงคลัง ที่ถูกจัดหมวดหมู่ จะสามารถทำให้เราได้ประโยชน์ จากการจัดการคลังสินค้า ได้อย่างสูงสุด

ระบบจำแนกวัสดุคงคลัง
  • วัสดุ A หรือสินค้า A เป็นวัสดุคงคลัง ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างมาก มีปริมาณการใช้สูง หรือมีมูลค่าสูง อาจใช้กฏ 80:20 เป็นวิธีกำหนดวัสดุคงคลังชนิด A (จำนวนวัสดุคงคลังแค่ 20 ชนิดจากวัสดุคงคลังทั้งหมด มีมูลค่าทางธุรกิจถึง 80%) วัสดุคงคลัง A ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่าย และมีการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชีอยู่บ่อยๆ (เช่น ทุกวันหรือ ทุกสัปดาห์) และต้องเก็บของไว้ในที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัสดุ หรือวัสดุคงคลังและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้
  • วัสดุ B หรือสินค้า B เป็นวัสดุคงคลังที่มีความสำคัญต่อธุรกิจปานกลาง ควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลาง ด้วยการลงบัญชีคุมยอดบันทึกเสมอเช่นเดียวกับ A ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า (เช่น ทุกสัปดาห์ หรือ ทุกสิ้นเดือน) และการควบคุม B จึงควรใช้ระบบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A
  • ส่วนสุดท้าย วัสดุประเภท C เป็นวัสดุคงคลังที่มีความสำคัญต่อธุรกิจน้อย วัสดุคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวกเนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมาก ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวด จะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ป้องกันไม่ให้สูญหาย การตรวจนับ C จะใช้ระบบวัสดุคงคลังแบบสิ้นงวดคือ เว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าพร่องไปเท่าใดแล้ว จึงซื้อมาเติม หรืออาจใช้ระบบสองกล่อง (Two bin system) ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้ พอใช้ของในกล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้แล้วรีบซื้อของเติมใส่กล่องสำรองแทน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น

เทคนิคการจำแนกสินค้าตามประเภทดังต่อไปนี้ มีประโยชน์ในการบริหารจัดการวัสดุคงคลังเป็นอย่างมาก ถ้านำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้ธุรกิจมีความได้เปรียบทางการแข่งขันสูงขึ้น

สนใจระบบโปรแกรมตรวจเช็คสต๊อกสินค้า CHECKSTOCKPRO ติดต่อ 095-941-3663

Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

วิธีทำให้สินค้าคงคลังถูกต้องแม่นยำ

สินค้าคงคลังมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆด้าน การจัดการที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจของคุณคงความได้เปรียบในการแข่งขัน

  • นำเทคโนโลยีในการควบคุมสินค้าคงคลังเข้ามาช่วย เช่นระบบ Warehouse Management System ซึ่งระบบจะมีหน้าที่บันทึก การรับเข้า การจัดเก็บ การย้ายสินค้า และการจ่ายออก เพื่อช่วยลดความผิดพลาดของกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้า
  • จัดทำวิธีการทำงานมาตรฐานที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ให้ใช้งานได้จริง ควบคู่ไปกับระบบควบคุมสินค้าคงคลัง พร้อมทั้งจัดอบรมพนักงานให้ทำงานได้อย่างถูกวิธีตามมาตรฐาน
  • จัดคลังสินค้าให้เหมาะสมกับสินค้าคงคลัง เช่น การมีช่องจัดเก็บเหมาะสมกับสินค้า, การมีพื้นที่พักสินค้าที่เหมาะสม (Staging area), การมีพื้นที่จัดเก็บเพียงพอกับนโยบายสินค้าคงคลัง
  • มีการนับสต็อคอย่างสม่ำเสมอ อาจมีการทำวางแผนทำ Cycle count ทั้งปี และมีการทำ Physical count อย่างน้อยปีละครั้ง