Categories
เช็คสต๊อกสินค้า

การบริหาร จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหาร จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสามารถของธุรกิจ ในการบริหาร และ จัดการสต๊อกสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ธุรกิจนั้น มีความได้เปรียบคู่แข่งหลายๆ ประการ เช่น

  • ลดขนาดการสั่งซื้อและการสั่งผลิตลง
  • สำหรับสินค้าที่ทำการจัดซื้อ ให้ทำการสั่งสินค้าถี่ขึ้น นอกจากจะได้สินค้าใหม่แล้ว ยังช่วยลดสต๊อกสินค้าในคลังลงด้วย อีกทั้งให้ทำการบริหารต้นทุนการจัดซื้อ ให้ต่ำลง โดยใช้ คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศ ในการสร้างคำสั่งซื้อ (Purchase Orders: PO) การใช้ระบบ (Electronic Data Interchange: EDI) ในการส่งผ่านข้อมูลราคาสั่งซื้อ (PO) การใช้ระบบแจ้งการขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Advance Shipping Notices: ASNs) เพื่อทำการลดต้นทุนการจัดซื้อ ก็จะช่วยสามารถ ลดต้นทุนด้านการจัดซื้อ และการรับสินค้าลดลงได้ นอกจากนั้นยังจะ สามารถสั่งได้บ่อยขึ้น หรือสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยได้
  • สำหรับสินค้าที่ทำการผลิตนั้น หากต้นทุนการติดตั้ง หรือการเปลี่ยนเครื่องมือ (Change over) มีค่าสูง ควรแก้ไขให้กิจกรรมนี้ให้มีเวลาที่สั้นลงจะสามารถลดสต๊อกสินค้าคงคลังได้ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้
  • ลดต้นทุนการเก็บสต๊อกสินค้าคงคลัง (Lower inventory costs)
    • เพิ่มการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ โดยการให้เช่าพื้นที่ที่มีอยู่ หรือ ลดการการขยายพื้นที่คลังสินค้า โดยใช้ เครื่องมือที่สามารถขนย้ายสินค้าในช่องแคบ การใช้ชั้นลอย หรือวิธีการเก็บสินค้าที่เหมาะสมมากขึ้น
  • การตั้งระดับปริมาณสต๊อกสินค้าเผื่อขาดให้เหมาะสม
  • วางแผนการประกอบ เมื่อเกิดความต้องการ และไม่ต้องการ
    • ควรมีการทบทวนแผนการสั่งซื้อ และการผลิตตลอดเพื่อทำการสั่งเพิ่ม หรือยกเลิกสินค้าที่ไม่ต้องการ เพื่อให้สต๊อกสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม
    • สำหรับสินค้าที่เป็นชิ้นส่วน ที่สามารถนำไปผลิตสินค้าต่อเนื่อง ได้อีกหลายชนิด (Parent products) ควร จะทำการเก็บสินค้าคงคลัง ไว้ในรูปแบบของสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished product) เพื่อลดปริมาณสต๊อกสินค้า คงคลังทั้งหมด เนื่องจากสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลัง ของทุกรายการแต่ละแบบได้
  • วิเคราะห์ และคาดการความต้องการของลูกค้า อย่างสม่ำเสมอ
    • ควรใช้ประสบการณ์ ควบคู่ไปกับสูตรการคำนวณความต้องการของลูกค้า เพื่อพยากรณ์ ยิ่งแม่นยำ ก็จะทำให้เราวางแผนการสั่งซื้อ และการผลิตได้ถูกต้อง เป็นผลให้ปริมาณสต๊อกสินค้าเป็นไปอย่างเหมาะสมด้วย
    • เหตุการณ์บางเหตุการณ์ อาจจะทำให้เกิดความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้น ในเวลาอันรวดเร็ว เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้ทำให้เรา ต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่น ในการจัดการปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังมาประกอบด้วย เช่น เทศกาลปีใหม่ที่ทำให้ความต้องการกระเช้าของขวัญมากขึ้นทำให้ต้องมีการวางแผนปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว
  • สร้างความร่วมมือระหว่างซัพพลายเออร์ในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้สามารถการจัดซื้อสินค้าแต่ละประเภทได้ในปริมาณที่น้อยลง และสั่งได้ถี่ขึ้น จัดการสต๊อกสินค้า ที่ดี จะทำให้การเก็บปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังน้อยลง
  • จัดส่งสินค้าต่อไปให้ลูกค้าเมื่อสินค้ามาถึง (Cross-dock customer shipments) สามารถลดความต้องการในการ เก็บสต๊อกสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าสามารถนาส่งต่อไปยังลูกค้าได้ทันที โดยไม่ต้องทำการจัดเก็บสินค้า
  • การให้ซัพพลายเออร์เป็นผู้บริหารสินค้าคงคลัง (Vendor-Managed Inventory: VMI) การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมให้ซัพพลายเออร์ เข้ามารับผิดชอบการบริหารสินค้าคงคลัง เนื่องจากซัพพลายเออร์สามารถทราบปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลัง และแผนการผลิตสินค้าของฝ่ายตนเอง และสามารถทราบความ ต้องการที่แท้จริงของสินค้าพร้อมกับปริมาณสต๊อกสินค้าคงคลังของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนสต๊อกสินค้าคงคลัง ลดลงทั้งฝ่ายซัพพลายเออร์และลูกค้า
  • ลดระยะเวลาในการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ หรือระยะเวลาในการขนส่งสินค้า หรือ ระยะเวลาในการรับสินค้า จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการในการ เก็บสต๊อกสินค้าคงคลังลดลง นอกจากนี้การลดความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการสั่งซื้อก็สามารถลดความต้องการ ของการเก็บสต๊อกสินค้าได้
  • เคลื่อนย้ายสินค้าคงคลัง (Transshipment) เมื่อสินค้าคงคลังของสินค้าบางรายการ ณ คลังสินค้าแห่งหนึ่งมีมากเกินไป อย่างไรก็ตามได้มีความ ต้องการสินค้าประเภทเดียวกัน ณ คลังสินค้าอีกที่หนึ่ง ดังนั้นระบบในการเกลี่ยปริมาณสินค้าคงคลังจากที่หนึ่ง มาที่หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีต่อการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี อย่างไรก็ตามต้นทุนในการเคลื่อนย้าย สินค้านี้ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • การจัดสินค้า Dead Stock (สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว) และสินค้า Slow Moving (สินค้าที่ถูกขายออกไปช้า) ซึ่งการจัดการลดกลุ่มสินค้าเหล่านี้เป็นการช่วยลดต้นทุนทั้งในคลังสินค้า (Warehousing) การจัดดำเนินการสินค้าในคลัง (Handling) การขนส่ง (Transportation) เช่น สินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวช้า ทำให้เปลืองพื้นที่จัดเก็บ และการดูแลสต๊อกสินค้าในคลัง

จัดการสต๊อกสินค้า อย่างมืออาชีพ ด้วยแอพพลิเคชั่น ที่รองรับการใช้งานพร้อมๆกันได้หลายสาขา โหลดฟรีที่นี่

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *